วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สาเหตุ การล้มของระบบนิเวศ แม่น้ำท่าจีน ค้นพบ ขายที่ดินใช้หนี้ ที่ดินแบ่งรอขาย ริมแม่น้ำท่าจีน มุมสวยๆ สะบายๆ สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณ 099-147-5513-14

แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ภูมิสังคม วัฒนธรรมกับการจัดนิเวศลุ่มน้ำ
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
โดย เจตน์ เจริญโท
                ในอดีตแม่น้ำถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของบ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อาณาจักสุวรรณภูมิหรือสุพรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของเมืองนครปฐม(นครชัยศรี) สุพรรณบุรี(อู่ทอง) มีแม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยง แม่น้ำท่าจีนจึงเป็นแม่น้ำสำคัญของภูมิภาคนี้ ประชาชนในชุมชนต่างๆที่ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ตลอดสองฟากฝั่งของแม่น้ำนี้ ล้วนทำมาหากินโดยอาศัยทรัพยากรในลำน้ำ จับกุ้งหอยปูปลาและสัตว์น้ำนานาชนิดมากินเป็นอาหาร ใช้น้ำในแม่น้ำทำการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ พืชสำคัญคือข้าวที่เพาะปลูกกันมานับพันปียังคงปลูกกันมาจนถึงปัจจุบัน
 เส้นทางคมนาคมขนส่งของคนในชุมชนแถบนี้ก็อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางสำคัญ เพราะสามารถเดินทางด้วยเรือ แพ ได้อย่างสะดวกสบาย ขนส่งสิ่งของได้มากโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนหรือสัตว์พาหนะให้ยุ่งยากสิ้นเปลือง และสามารถเดินทางไปได้ไกลๆ เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนมีความยาวถึงราว 300 กิโลเมตร กว้าง 60 เมตรโดยเฉลี่ย เริ่มต้นโดยแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท เรียกว่าแม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเดิมบางนางบวช สามชุก ศรีประจันต์ บางปลาม้า สองพี่น้อง เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี ไหลผ่านจังหวัดนครปฐม บางเลน นครชัยศรี เรียกว่าแม่น้ำนครชัยศรีและไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครลงสู่อ่าวไทย เรียกว่าแม่น้ำท่าจีน รวมไหลผ่านทั้งหมด 5 จังหวัด ทั้งยังมีลำคลองสาขากระจัดกระจายซอกซอนไปทั่วทุกพื้นที่
สภาพของน้ำในแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีถึง4 ชื่อดังกล่าวมานี้ มีน้ำคลองไหลหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดปีไม่เคยขาดช่วง น้ำในแม่น้ำนี้ถึงแม้จะไม่ใสนักแต่ก็สะอาดไม่เน่าเหม็นหรือมีเชื้อโรค สามารถใช้ดื่มกินได้โดยผ่านการทำความสะอาดเพียงเล็กน้อย เช่น แกว่งด้วยสารส้ม นอกจากนั้นในฤดูน้ำหลากซึ่งอยู่ในระหว่างเดือน 11 เดือน 12 เดือนอ้ายและเดือนยี่ เหมือนที่ศิลปินเพลงลูกทุ่งได้ประพันธ์ไว้ว่า “พอเดือนสิบเอ็ดน้ำเริ่มไหลนอง เพ็ญเดือนสิบสองน้ำในคลองก็เริ่มจะทรง ครั้นถึงเดือนยี่น้ำก็รี่ไหลลงไหลลง เหตุไฉนน้ำใจอนงค์ไหลคล้อยลงเหมือนน้ำเดือนยี่....”
น้ำที่หลากท่วมทั้งสองฝั่งคลองเจิ่งนองในท้องทุ่งอันกว้างขวางช่วยให้ชาวนาสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตงดงามทุกปี แถมยังมีพืชผัก เช่น กระเฉด ผักบุ้ง ผักตบชวา สาหร่าย สายบัวและผักน้ำนาชนิด กับกุ้ง หอย ปู ปลา มากมายให้ใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องผู้คนในชุมชนได้อย่างอุดมสมบูรณ์ แถมยังมีเผื่อแผ่ส่งออกไปขายให้ผู้คนในชุมชนอื่นๆได้อิ่มหมีพีมันตามไปด้วย จึงนับเป็นความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิเราที่มาเลือกที่ตั้งชุมชนอยู่บนฟากฝั่งของแม่น้ำสายนี้ เพราะนี่คือระบบนิเวศที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
นอกจากเป็นที่อยู่ที่กินและเส้นทางคมนาคมขนส่งดังกล่าวแล้ว แม่น้ำยังเป็นแหล่งก่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมของประชาชนในชุมชนสองฟากฝั่งอย่างงดงามอีกด้วย ไม่ว่าเพลงเรือ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงยาว เพลงกล่อมเด็ก เพลงเห่เรือ ลิเก รวมถึงเพลงลูกทุ่งที่ร้องกันในปัจจุบันด้วย นอกจากนั้นยังมีการละเล่นต่างๆ เช่น การแข่งเรือ การลอยกระทง การเผาเทียนเล่นไฟ และการเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆ ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้มีวิวัฒนาการสืบทอดกันมายาวนานแต่ยุคโบราณ น่าเสียดายที่บัดนี้ศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้นกำลังค่อยๆเสื่อมสูญไป เช่นเดียวกับความสำคัญของแม่น้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวมาข้างต้นด้วย
   ความเสื่อมโทรมของแม่น้ำท่าจีนเกิดขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงจนบางคนบอกว่า “แม่น้ำท่าจีนตายแล้ว”สาเหตุสำคัญก็คือ ผู้คนเริ่มเห็นความสำคัญของแม่น้ำน้อยลงและบางคนไม่เห็นความสำคัญเลยโดยเฉพาะนักการเมืองและข้าราชการที่ถือว่าเป็นผู้นำชุมชน คนเหล่านี้หันไปรับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆของต่างชาติมาใช้โดยขาดความยั้งคิด  เช่น มีการสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศของสัตว์น้ำ และการทำมาหากินของประชาชนในลุ่มน้ำ เขื่อนที่สร้างขึ้นทางตอนบนของแม่น้ำท่าจีนคือ เขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท และเขื่อนภูมิพล(ยันฮี) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเขื่อนทั้งสองคือเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯและเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อการเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดต่างๆในภาคกลางของประเทศน้อยมาก ประการต่อไปคือ การก่อสร้างถนนใหญ่(สายเอเชีย)ขนานไปกับแม่น้ำท่าจีน มีการนำรถบรรทุกขนาดใหญ่มาใช้มากมาย ทำให้ผู้คนละเลยการขนส่งทางเรือซึ่งเป็นเส้นทางที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่า
นอกจากนั้นยังมีการปล่อยปละละเลยให้ชุมชนใหญ่ๆ เช่น ตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีน เรียกว่าเป็นการ “เอาแม่น้ำเป็นท่อน้ำทิ้ง” โรงงานต่างๆที่เกิดขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ำท่าจีนก็ไม่มีการเข้มงวดกวดขันการระบายน้ำเสียและทิ้งขยะลงในแม่น้ำนี้เช่นกัน เป็นผลให้คุณภาพของน้ำในแม่น้ำนี้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก กุ้งหอยปูปลาพากันสูญพันธุ์หมดสิ้นไป การประมงน้ำจืดซึ่งเคยเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของประชาชนดังที่กล่าวมาในตอนต้นจึงไม่อาจทำได้อีกต่อไป การเพาะปลูกพืชหลักเช่น ข้าว ซึ่งแต่เดิมอาศัยน้ำที่หลากมาตามฤดูกาล นำเอาปุ๋ยธรรมชาติมาให้ในรูปของดินเลนอันอุดม ปัจจุบันชาวนาต้องอาศัยปุ๋ยเคมีที่ซื้อหามาในราคาแพงเพียงอย่างเดียวเพราะดินเลนติดอยู่เหนือเขื่อน
นี่คือการสูญสิ้นของระบบนิเวศชุมชน ซึ่งทำให้ผู้คนไม่อาจอาศัยอยู่กินอย่างปกติสุขโดยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองได้ คนส่วนมากต้องดิ้นรนไปทำงานหาเงินในกรุงเทพฯ คนส่วนที่ไม่สามารถไปทำมาหากินในกรุงเทพฯได้ก็ต้องรอให้ลูกหลานส่งเงินมาให้ใช้ นี่คือร่องรอยกาลเวลาที่ทำให้ชุมชนในลุ่มน้ำนครชัยศรี(สุพรรณบุรี มะขามเฒ่า ท่าจีน)ที่สืบทอดมาจากทวาราวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิเสื่อมโทรมลงใกล้จะถึงที่สุดแล้ว

1 ความคิดเห็น:

  1. โครงการ D-HOUSE-GROUP MINIFACTORY(พระราม2-ท่าจีน ) สนใจสั่ง จองดร.สมัย 098-5155-568
    โครงการ อยู่เจริญ อุตสาหกรรม โครงการอื่น มากมาย (พระราม2-ท่าจีน ) สนใจสั่ง จองโทรมา 098-5155-568

    ตอบลบ